แมกนีเซียมมีหน้าที่สำคัญหลายประการในร่างกายของเราโดยมี mitochondria ซึ่งเปรียบเสมือนโรงไฟฟ้าของเซลล์ของเรา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการทั้งหมดของร่างกาย
วิธีการปกป้องกล้ามเนื้อไม่ให้ขาดแมกนีเซียม
![[Translate to English:] [Translate to English:]](/fileadmin/_processed_/5/5/csm_steps_a292f9d45c.jpg)
แมกนีเซียมมีหน้าที่สำคัญหลายประการ ดังนี้
• กระตุ้นเอนไซม์ประมาณ 600 ชนิดในร่างกาย
• ทำให้ฮอร์โมนต่างๆ เช่น อินซูลิน ถูกเก็บสะสมและปล่อยออกมา
• มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสารสื่อประสาท เช่น serotonin
• ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของเราจากความเครียด
• ทำงานร่วมกับแคลเซียม ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปตามปกติ
แมกนีเซียมมีหน้าที่สำคัญในกล้ามเนื้อของเราหลายประการ
การมีสมดุลที่เหมาะสมระหว่างแมกนีเซียมและแคลเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานที่ดีของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีบทบาทในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ขณะที่แมกนีเซียมทำหน้าที่ควบคุมการคลายตัว โดยช่วยจัดการการส่งสัญญาณประสาทสู่กล้ามเนื้อ ยับยั้งการไหลเข้าของแคลเซียมที่มากเกินไป และลดการตอบสนองที่ไวเกินไปของระบบประสาท ส่งผลให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อได้ตามต้องการ สมาคมโภชนาการเยอรมันแนะนำให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรได้รับแมกนีเซียมวันละ 300-400 มิลลิกรัม ตามช่วงอายุและเพศ เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม แคลเซียมจะสะสมในกล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถคลายตัวได้อย่างสมบูรณ์ และเกิดอาการเจ็บปวดจากการเป็นตะคริวตามมา
ภาวะขาดแมกนีเซียมนำไปสู่การมีแคลเซียมในกล้ามเนื้อมากเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่สามารถคลายตัวได้อย่างเต็มที่ และเกิดอาการเจ็บปวดจากการเป็นตะคริว
อาการเป็นตะคริวที่น่องและอาการแสดงอื่นๆ ในภาวะขาดแมกนีเซียม
• ความเหนื่อยล้า
• ความอ่อนเพลีย
• อาการเป็นตะคริวที่น่อง นิ้วเท้า และเท้า
• ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือใจสั่น
• ความดันโลหิตสูง
• กล้ามเนื้อกระตุกที่ตาหรือมุมปาก
หากขาดแมกนีเซียมเล็กน้อยก็นำไปสู่การลดลงของการผลิตพลังงานในแหล่งพลังงานของเซลล์ได้ และอาจก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าและความอ่อนเพลียโดยไม่สามารถระบุอาการได้อย่างเฉพาะเจาะจงและไม่สามารถหาสาเหตุเชื่อมโยงโดยตรงกับภาวะขาดแมกนีเซียมได้เสมอไป อาการจะชัดเจนขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะในระหว่างการนอนหลับเมื่อระดับแมกนีเซียมลดลง การขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดอาการเป็นตะคริวที่น่อง นิ้วเท้า และเท้าได้
นอกจากนี้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น และความดันโลหิตสูงอาจเกี่ยวข้องกับภาวะขาดแมกนีเซียม เนื่องจากหัวใจเป็นเพียง "แค่" กล้ามเนื้อที่ต้องการ การพึ่งพาการหดตัวและคลายตัวที่เป็นระบบ รวมถึงความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลต์ในระดับปกติ สำหรับอาการขาดแมกนีเซียมอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อกระตุกเล็กน้อยที่ตาและมุมปาก ตามงานวิจัยล่าสุด ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มอาการขากระตุกยามหลับ (restless legs syndrome) อาจได้รับประโยชน์จากการบริโภคแมกนีเซียม นอกจากนี้ในผู้หญิงภาวะขาดแมกนีเซียมอาจทำให้อาการปวดประจำเดือนรุนแรงขึ้นและนำไปสู่การหดตัวก่อนกำหนดในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ด้วย
กลุ่มคนใดบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการเกิดภาวะขาดแมกนีเซียม?
ภาวะขาดแมกนีเซียมอาจเกิดขึ้นเมื่อความต้องการแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน และไม่สามารถรับประทานอาหารปกติให้ได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอได้ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะขาดแมกนีเซียม มีดังนี้
• กำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิด
• ออกกำลังกายมาก
• มีความเครียด
• เป็นผู้สูงอายุ
• สูญเสียน้ำมากขึ้น (ผ่านการเหงื่อออกมาก ปัสสาวะ อาเจียน หรือท้องเสีย)
• เป็นโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน เอชไอวี มะเร็ง หรือโรคตับและตับอ่อน
• รับประทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งทำให้แมกนีเซียมถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้นนอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดด้วยยา cytostatic drugs เช่น cisplatin หรือรับประทาน corticoids จะขับแมกนีเซียมออกมากขึ้นด้วย
ภาวะขาดแมกนีเซียมในโรคบางชนิด
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแมกนีเซียมเป็นพิเศษ โดยมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเหล่านี้มีภาวะขาดแมกนีเซียม เนื่องจากสภาวะของโรคและยาที่ใช้ทำให้เกิดการขับแร่ธาตุออกทางไตมากกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งรวมถึงแร่ธาตุแมกนีเซียมด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็ง และภาวะโรคตับหรือตับอ่อน จะดูดซึมแมกนีเซียมได้น้อยลงด้วยเช่นกัน
แมกนีเซียมและการคุมกำเนิด
ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานเป็นเวลานานอาจประสบกับภาวะขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน และอาจจะได้รับคำแนะนำไม่ให้รับประทานแมกนีเซียมพร้อมกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน เหตุผลคือ ปริมาณแมกนีเซียมที่สูงเกินไปจะถูกขับออกมาโดยตรงอีกครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ หากสิ่งนี้เกิดขึ้นยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานจะไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ในวันนั้น อย่างไรก็ตาม หากมีการใส่ใจในขนาดของแมกนีเซียมที่เหมาะสม ก็จะไม่มีความเสี่ยงต่อการรบกวนประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

นักกีฬาต้องระวังอะไรบ้างในกรณีที่มีภาวะขาดแมกนีเซียม?
ผู้ที่มีกิจกรรมทางกายสูงไม่เพียงแต่ใช้กล้ามเนื้อมากเท่านั้น แต่ยังขับเหงื่อออกมามากด้วย และความต้องการแมกนีเซียมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะนักกีฬาประเภทที่ต้องอาศัยแรงในการออกกำลังกาย ซึ่งใช้ร่างกายอย่างหนักเป็นเวลานาน อาจได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแมกนีเซียม โดยแมกนีเซียมจะช่วยส่งเสริมความยืดหยุ่นและความสามารถในการฟื้นตัวของร่างกาย เครื่องดื่มเกลือแร่ isotonic ส่วนใหญ่ที่นิยมแนะนำให้นักกีฬาดื่มมักมีแมกนีเซียมน้อย แต่กลับมีน้ำตาลมากเกินไป เพราะร่างกายมีทรัพยากรจำกัดสำหรับการย่อยอาหารระหว่างออกกำลังกาย ดังนั้นควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแมกนีเซียมโดยเฉพาะในช่วงฟื้นฟูร่างกายเพื่อประสิทธิผลที่ดีที่สุด
การป้องกันภาวะขาดแมกนีเซียมและการเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ
อาหารที่มีความสมดุลของแมกนีเซียม คือ
• จมูกข้าวสาลี
• อะโวคาโด
• เมล็ดทานตะวันและเมล็ดฟักทอง
• น้ำแร่ที่มีแมกนีเซียมสูง
ในเมนูอาหาร จะให้ความต้องการแมกนีเซียมตามระดับปกติและลดความเสี่ยงของภาวะขาดแมกนีเซียมได้ อย่างไรก็ตาม หากความต้องการแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นหรือมีภาวะขาดแมกนีเซียมอยู่แล้ว ควรรับประทานยาที่มีแมกนีเซียมอย่างน้อยเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดไปอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ ไม่แนะนำให้รับประทานแมกนีเซียมในปริมาณมากในครั้งเดียว เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้โดยตรง แร่ธาตุส่วนใหญ่จะถูกขับออกมาโดยตรงอีกครั้งและอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ แมกนีเซียมสามารถถูกดูดซึมได้ดีขึ้นหากรับประทานโดยให้ขนาดยาแต่ละครั้งน้อยลงและรับประทานตลอดทั้งวัน ตัวอย่างเช่น การละลายเกล็ดฟู่ในแก้วใหญ่หรือในขวดที่ปิดได้ที่มีน้ำ 500-750 มิลลิลิตร และดื่มระหว่างวันเพื่อเติมระดับแมกนีเซียมให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสงวนสิทธิ์ ข้อมูลด้านสุขภาพที่นำเสนอในเว็บไซต์ www.woerwagpharma.de มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนการพบแพทย์ วินิจฉัยโรคด้วยตนเอง ตัดสินใจใช้ยาด้วยตนเอง ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม
กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดชอบและลิขสิทธิ์รูปภาพในเว็บไซต์