โรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน – อะไรคือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

เวลาในการอ่าน 2 นาที
แบ่งปัน

อันตรายสำคัญของโรคเบาหวานคือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อร่างกายสลายกลูโคสมากเกินไป จะเกิดการปล่อย oxygen radicals โดยเฉพาะ superoxide anion radicals ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

 

oxygen radicals เหล่านี้จะทำลายหลอดเลือดฝอยก่อน แล้วจึงลุกลามไปยังหลอดเลือดขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิด ความเสียหายต่อระบบประสาท ปัญหาด้านการมองเห็น การทำงานของไตที่เสื่อมลง ความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เนื่องจากการเกิดลิ่มเลือดและหลอดเลือดแข็งตัว ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และมักตรวจพบได้ยากในระยะเริ่มต้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้

 

ในเยอรมนีมีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 7 ล้านคน โรคนี้เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เบาหวานจะพัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ และมักถูกตรวจพบช้าในหลายกรณี ความเสี่ยงจากการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีคือภาวะแทรกซ้อนที่มักจะอันตรายกว่าตัวโรคเบาหวานเอง สาเหตุของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวานคือระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป หมายความว่าการสลายกลูโคสในเซลล์เกิดขึ้นมากเกินไปและมีการปล่อยอนุมูลออกซิเจน –  โดยเฉพาะอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออน – ซึ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
อนุภาคเหล่านี้ทำลายหลอดเลือดที่เปราะบางก่อน แล้วจึงทำลายหลอดเลือดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท ปัญหาการมองเห็น และความล้มเหลวของไตในระยะยาว นอกจากนี้ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากความเสี่ยงจากการเกิดลิ่มเลือดและหลอดเลือดแข็งตัว
 

ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเกิดขึ้นในผู้ป่วยหลายคน และการตรวจพบความเสี่ยงในระยะเริ่มต้นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก

โรคเส้นประสาทอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน – ความเสียหายของเส้นประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึกและระบบกล้ามเนื้อและกระดูกได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังกระตุ้นการสร้างสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ซึ่งเป็นโปรตีนและไขมันที่ถูกดัดแปลง ส่งผลให้เส้นประสาทถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง
กลไกการทำลายเส้นประสาท คือ สาร AGEs กระตุ้นการสร้างอนุมูลออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา (reactive oxygen species) ทำให้ระบบต้านอนุมูลอิสระ (antioxidative system) ทำงานผิดปกติ ในขณะเดียวกัน ภาวะ Oxidation ก็เร่งการสร้าง AGEs เพิ่มขึ้น เกิดเป็นวงจรที่ทำลายเส้นประสาทอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นโรคเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง โดยพบในผู้ป่วยเบาหวานเกือบ 1 ใน 3 และส่งผลกระทบรุนแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ลักษณะการเกิดโรค คือ เส้นประสาทที่อยู่ไกลจากหัวใจมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ โดยมักเริ่มที่เส้นประสาทบริเวณขาก่อน ส่งผลทำให้เกิดการรับรู้ความเจ็บปวด การชา และการรับรู้อุณหภูมิที่ผิดแปลกไป อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นระบบที่ทำงานโดยอัตโนมัติและไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติอีกด้วย
 

sisyphus.jpg
อาการของโรคเส้นประสาทอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

โรคเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานแสดงอาการได้หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกทำลาย อาการที่พบได้บ่อย คือ
- สูญเสียการรับสัมผัส ความเจ็บปวด หรือการรับรู้อุณหภูมิ
- ชาตามปลายมือปลายเท้าหรืออัมพาต
- ปวดเรื้อรัง
- รู้สึกเหมือนเข็มตำหรือมีแมลงไต่ตามแขนขา
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- กระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงหรือปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ


ความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับรู้สัญญาณเตือนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น การป้องกันและการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลรักษา
 

การรักษาโรคเส้นประสาทอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน อ้างอิงจาก 3 แนวทางหลัก (three essential pillars)
การรักษาโรคเส้นประสาทจากเบาหวานต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
1. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต การปรับการใช้ยาให้เหมาะสมตามสภาวะของผู้ป่วย
2. การรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและเลือกยาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
3. การป้องกันการเสื่อมของเส้นประสาท โดยใช้ยาเบนโฟไทอามีน (Benfotiamine) ยับยั้งกระบวนการเผาผลาญที่ทำลายเส้นประสาทและป้องกันผลกระทบในระยะยาว
การรักษาที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการทั้งสามด้านควบคู่กันไป โดยมีการติดตามและปรับแผนการรักษาอย่างต่อเนื่องตามการตอบสนองของผู้ป่วย
 

โรคที่เกี่ยวกับเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน –ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังจากโรคเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

สาเหตุการเกิดโรค คือ ภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน (สาเหตุหลัก) และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (พบได้น้อยกว่า) โดยจะส่งผลกระทบต่อเท้า คือ การสูญเสียความรู้สึก ไม่รู้สึกถึงบาดแผล ไม่รู้สึกถึงจุดกดทับ ไม่สามารถรับรู้การบาดเจ็บ มีปัญหาการหายขาดของแผล เช่น แผลติดเชื้อได้ง่าย แผลหายช้าเพราะเลือดไหลเวียนไม่ดี ทั้งนี้ อาจเกิดฝีหนองรอบแผล เนื้อเยื่อและกระดูกถูกทำลาย ผลที่ตามมาในกรณีรุนแรง อาจต้องตัดเท้าทิ้ง
การป้องกัน คือ ให้ตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอ ตรวจหาบาดแผลหรือการบาดเจ็บแม้เล็กน้อย จัดการกับปัญหาที่พบตั้งแต่เริ่มต้น ป้องกันการอักเสบที่อาจเป็นอันตรายได้ โดยการดูแลเท้าอย่างสม่ำเสมอและการตรวจเท้าเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะได้
 

ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายเป็นภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน

ความเสี่ยงต่อลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานกลไกการเกิดโรค คือ ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย แคลเซียมสะสมในผนังหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (Arteriosclerosis)
ผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือด คือ หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ลิ่มเลือดก่อตัวบริเวณที่แคลเซียมสะสม ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น คือโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองจากลิ่มเลือดอุดตันหรือจากแคลเซียมที่หลุดเข้าสู่กระแสเลือด
กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมักมีปัญหาการเผาผลาญไขมันและมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป การป้องกัน คือ ตรวจสอบเท้าอย่างสม่ำเสมอ สังเกตการบาดเจ็บแม้เพียงเล็กน้อยและป้องกันการอักเสบที่อาจเป็นอันตรายได้
 

การเกิดอาการขาชาแบบเป็นช่วง (Intermittent Claudication) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (PAOD) เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงขา อาการที่พบระยะเริ่มต้น คือ รู้สึกเย็นที่ขา มีอาการชา ระยะต่อมา คือ ปวดขาขณะเดิน ต้องหยุดพักบ่อยๆ ระยะรุนแรง คือ หลอดเลือดตายอย่างสมบูรณ์อาจต้องตัดขาหรือเท้า


ข้อควรระวัง คือ อาการจะปรากฏเมื่อหลอดเลือดตีบถึง 90% การรักษาในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญอย่างมาก ควรป้องกันก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง


การป้องกันและเฝ้าระวัง คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจสอบอาการผิดปกติที่ขาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
 

ความเสียหายของไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน – โรคไตที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานเป็นโรคแทรกซ้อนรอง

โรคไตที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน มีสาเหตุและกลไกการเกิดโรคคือ น้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือด หลอดเลือดฝอยในไตได้รับความเสียหาย ไตค่อยๆเสื่อมสมรรถภาพในการกรอง ประสิทธิภาพการขจัดสารพิษลดลง


สถิติความเสี่ยง คือ พบในผู้ป่วยเบาหวาน 1 ใน 10 ราย มักเริ่มตั้งแต่ระยะแรกของโรคเบาหวานและมีอาการแย่ลงอย่างช้าๆ โดยไม่แสดงอาการ
อาการและการดำเนินไปของโรค ระยะแรกไม่แสดงอาการชัดเจน ตรวจพบได้จากการตรวจเลือดในระยะต่อมาจะมีอาการตาและผิวหนังเหลือง มีอาการแสดงของภาวะเป็นพิษและอาจนำไปสู่ไตวายแบบสมบูรณ์ได้


การรักษาในระยะรุนแรง คือ การฟอกไต การปลูกถ่ายไต การป้องกันและเฝ้าระวัง คือ การตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ติดตามการทำงานของไต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด
 

ความเสียหายของจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนรองของโรคเบาหวาน – โรคจอประสาทตาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

หลอดเลือดฝอยในจอประสาทตาจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น โรคจอประสาทตาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการมองเห็น หลอดเลือดที่เล็กและเปราะบางในจอประสาทตาจะค่อยๆตายลง ทำให้เกิดหลอดเลือดโป่งพองและการอุดตันของหลอดเลือด ในขณะที่หลอดเลือดใหม่จะถูกสร้างขึ้นเพื่อชดเชยการสูญเสียนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามหลอดเลือดเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะฉีกขาดได้ง่ายและอาจทำให้เกิดการลอกของจอประสาทตา เพื่อควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันอื่นๆ การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถช่วยให้จอประสาทตาหยุดการเสื่อมสภาพลงได้

การเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

การตรวจติดตามหลังวินิจฉัย ด้วยการตรวจประเมินโรคแทรกซ้อนตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย ติดตามอย่างสม่ำเสมอตลอดการรักษา ประเมินความเสียหายของเส้นประสาท ตรวจสอบการไหลเวียนเลือด


ขั้นตอนการตรวจประเมิน คือ การซักประวัติ โดยแพทย์สอบถามอาการอย่างละเอียดและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่พบบ่อย การตรวจร่างกายด้วยการวัดความดันโลหิตและทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองหรืออาจมีการตรวจพิเศษ ด้วยการทดสอบความไวของเส้นประสาทด้วยส้อมเสียง ประเมินการรับรู้การสั่นสะเทือนที่เท้า


วัตถุประสงค์ของการตรวจรักษา คือ หากตรวจพบภาวะแทรกซ้อนแต่เนิ่นๆ จะทำให้เริ่มการรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันการลุกลามของโรคและสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้

การดูแลสุขภาพที่ดีช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การดูแลตนเองด้วยการงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมน้ำหนัก รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอยู่แล้ว ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น สำหรับแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาท ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน เนื่องจากในช่วงที่ตับกำลังย่อยสลายแอลกอฮอล์ จะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


ยาที่ใช้รักษาเบาหวานบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงต่อหลอดเลือด โดยเฉพาะเมตฟอร์มิน (metformin) ที่ทำให้ระดับวิตามินบี 12 และกรดโฟลิกลดลง วิตามินทั้งสองชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญ homocysteine  หากระดับ homocysteine สูงขึ้นอาจทำให้หลอดเลือดเสียหายได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้ยารักษาเบาหวานระยะยาวจึงควรได้รับการตรวจวัดระดับวิตามินบีเป็นระยะ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ

ข้อสงวนสิทธิ์  ข้อมูลด้านสุขภาพที่นำเสนอในเว็บไซต์ www.woerwagpharma.de มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนการพบแพทย์ วินิจฉัยโรคด้วยตนเอง ตัดสินใจใช้ยาด้วยตนเอง ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม
 

แบ่งปัน
เราอยู่ที่นี่เพื่อช่วยคุณ
ติดต่อ