โรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเส้นประสาท

เวลาในการอ่าน 0 นาที
แบ่งปัน

การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย เช่น การเดินในที่กลางแจ้ง สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น โดยจะส่งผลดีทั้งต่อร่างกายและจิตใจ มีคำถามสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานมักสงสัย คือ

- ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไร?

- ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาทสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่?

- มีข้อควรระวังพิเศษอะไรบ้าง?

 

การออกกำลังกายมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท เพราะการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลได้ดีขึ้น สำหรับวิธีการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหักโหมหรือทำกิจกรรมหนักๆ เริ่มจากเพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน หรืออาจออกกำลังกายเป็นกลุ่มเพื่อเพิ่มความสนุกและแรงจูงใจในการออกกำลังกายให้มากยิ่งขึ้น เพราะการพบปะผู้อื่นช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีโดยรวมอีกด้วย

bike02.jpg
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทมักออกกำลังกายน้อยเกินไป

สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทในผู้ป่วยเบาหวาน คือ เส้นประสาทได้รับความเสียหายจากโรคเบาหวาน โดยเฉพาะเส้นประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เส้นประสาททำงานผิดปกติ ส่งสัญญาณประสาทได้ไม่ถูกต้อง เกิดอาการชาหรือปวดโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน การศึกษาจากมหาวิทยาลัย Münster ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 73 คน โดยใช้เครื่องนับก้าวพบว่าผู้ป่วยระยะเริ่มต้นมีการเคลื่อนไหวได้น้อย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงยิ่งเคลื่อนไหวน้อยลงไปอีกและส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบนั่งนิ่งๆ เช่น นั่งทำงาน นั่งรถ หรือนั่งพักผ่อน หลังจากนั้น เมื่อพบว่ามีอาการปวดก็จะส่งผลให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวมากขึ้นโดยจะทำให้อาการแย่ลง

ทำไมจึงแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกาย

      ปัญหาที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยมักจำกัดการเคลื่อนไหวเพราะ รู้สึกชาที่เท้าและขา กลัวการล้ม ขาดความมั่นใจในการทรงตัว โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต แม้ในระยะเริ่มต้นของโรค
      ประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงการรับรู้และการทำงานประสานกันของร่างกายในส่วนต่างๆ รักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงในการหกล้ม บรรเทาอาการปวด ชา และแสบร้อน ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้นและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น แต่มีข้อควรระวัง คือ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายและอาจต้องปรับขนาดอินซูลินตามความเหมาะสม
 
 

dumbbells.jpg
ประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่มีอาการทางเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน

การเลือกประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีกิจกรรมที่แนะนำ คือ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินออกกำลังกาย ฝึกกับอุปกรณ์น้ำหนักเบา (ตามความชอบ) หลักการออกกำลังกายที่ดี คือ เน้นการฝึกความแข็งแรงและความอดทน ออกกำลังกายสั้นๆ แต่บ่อยครั้งในแต่ละสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ เพียงครั้งเดียวในวันหยุด และค่อยๆ เพิ่มการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้


ทั้งนี้ แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นกลุ่ม เพราะจะเพิ่มแรงจูงใจในการออกกำลังกาย สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม มีเพื่อนคอยช่วยเหลือหากรู้สึกทรงตัวได้ไม่มั่นคง รวมทั้งรู้สึกปลอดภัยและได้รับการสนับสนุนอีกด้วย
 

วิธีการเพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

แม้แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ก็สามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวในแต่ละวันได้ด้วยวิธีง่ายๆ แต่หากคุณออกกำลังกายอยู่แล้ว คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นตลอดทั้งวัน

การบริหารเท้าง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท

สำหรับผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกายหนักๆ สามารถทำท่าบริหารเท้าได้ง่ายๆในขณะทำกิจกรรมอื่น เช่น ดูโทรทัศน์หรือนั่งรับประทานอาหาร โดยท่าบริหารที่แนะนำ คือ สลับยกปลายเท้าและส้นเท้าขึ้นลงสลับกัน 2-3 นาที เพื่อบริหารกล้ามเนื้อน่องและเท้า ยกขาขึ้นในแนวขนาน พร้อมเหยียดและงอเท้าสลับกันเหมือนท่าบัลเล่ต์ วาดวงกลมในอากาศด้วยปลายเท้า ท่าเหล่านี้ช่วยบริหารกล้ามเนื้อเท้าได้โดยไม่ต้องใช้เวลามาก และทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน

steps.jpg
การออกกำลังกายช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานเคลื่อนที่ได้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน

เริ่มจากพื้นฐาน คือ การเดินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้เริ่มจากการเดินเพียงเล็กน้อย แต่สามารถเห็นผลดีได้ในระยะยาว เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วและมีอิสระในการทำกิจกรรมประจำวันมากขึ้น
การดูแลเท้าที่สำคัญ คือ การสวมรองเท้าที่มีคุณภาพดี เลือกถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บระคายเคือง ตรวจเท้าทุกวันเพื่อดูแผลพุพองและบาดแผลต่างๆ ที่อาจไม่รู้สึกเจ็บเพราะเส้นประสาทเสื่อม การดูแลเท้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบและรักษาปัญหาได้เร็วก่อนที่โรคจะลุกลามรุนแรง

ข้อสงวนสิทธิ์  ข้อมูลด้านสุขภาพที่นำเสนอในเว็บไซต์ www.woerwagpharma.de มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนการพบแพทย์ วินิจฉัยโรคด้วยตนเอง ตัดสินใจใช้ยาด้วยตนเอง ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม

 

แบ่งปัน
เราอยู่ที่นี่เพื่อช่วยคุณ
ติดต่อ