เกี่ยวกับ Biofactors

Biofactors เป็นสารที่จำเป็นต่อการทำงานทางสรีรวิทยาของร่างกาย มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประกอบด้วยวิตามิน สารตั้งต้นวิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ เปปไทด์ กรดอะมิโน กรดไขมัน สารสำคัญจากพืช และสารอื่นๆ ร่างกายไม่สามารถสร้างสารเหล่านี้เองได้หรือสร้างได้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องได้รับจากภายนอก ทั้งนี้ความเข้มข้นของ Biofactors อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ 

(Frank et al. The role of biofactors in the prevention and treatment of age-related diseases. Biofactors. 2021;47(4):522-550.)

lunch03.jpg

Biofactors มีผลต่อร่างกายอย่างไร

Biofactors เป็นสารที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย สมาคมโภชนาการจึงได้กำหนดปริมาณมาตรฐานที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดย Biofactors แต่ละชนิดมีบทบาทเฉพาะที่สำคัญ เช่น
• ธาตุเหล็ก มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงและลำเลียงออกซิเจน
• วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก สมานแผล และต้านอนุมูลอิสระ
• วิตามินดี ซึ่งร่างกายสร้างได้เองจากแสงแดด ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม โดยเฉพาะในทารกที่กำลังเจริญเติบโตจะมีความต้องการวิตามินดีสูง
• กลุ่มวิตามินบี เช่น บี12 Benfotiamine (สารตั้งต้นของไทอามีนที่ละลายในไขมัน) บี6 และกรดโฟลิก มีความสำคัญต่อระบบประสาท การเผาผลาญพลังงาน และการสร้างเม็ดเลือด


นอกจากนี้ Biofactors บางชนิดยังช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเป็นปกติอีกด้วย

การขาด Biofactors มีอาการอย่างไร

การขาด Biofactors เป็นระยะเวลานานส่งผลให้กระบวนการสำคัญในร่างกายทำงานผิดปกติ โดยอาการที่พบขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่ขาด เช่น การขาดธาตุเหล็กที่พบบ่อยในผู้หญิงทำให้เกิดอาการซีด หนาวสั่น และอ่อนเพลีย การขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เป็นตะคริวที่น่องตอนกลางคืน เครียด วิตกกังวล หัวใจเต้นผิดจังหวะ และความดันโลหิตสูง ส่วนการขาดวิตามินซีอย่างรุนแรงเคยก่อให้เกิดโรคลักปิดลักเปิดซึ่งพบในศตวรรษที่ 15-16 และการขาดวิตามินดีส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายรวมถึงการทำงานของฮอร์โมน


อาการเริ่มแรกของการขาด Biofactors มักไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนแรง อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ หรือประสิทธิภาพลดลง ซึ่งมักถูกมองข้ามและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้นานอาจเกิดอาการรุนแรงที่เป็นอันตราย เช่น การขาดวิตามินบีส่งผลเสียต่อจำนวนเม็ดเลือด ระบบประสาท และการจัดหาพลังงานของเซลล์ ส่วนการขาดสังกะสีทำให้เล็บเปราะบาง ผิวแห้งและลอกได้


หากมีอาการผิดปกติ อ่อนแอ หรือประสิทธิภาพร่างกายลดลงเป็นระยะเวลานาน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด โดยแพทย์จะตรวจเลือดและปัจจัยอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุของการขาด Biofactors และให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

herbs01.jpg

จะลดความเสี่ยงของการขาด Biofactors ได้อย่างไร

การป้องกันการขาด Biofactors ทำได้ง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายอย่างเพียงพอและรับประทานอาหารที่สมดุล โดยเน้นผลไม้สด ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา เนื้อไม่ติดมัน และนมพร่องมันเนย ควรเลือกใช้น้ำมันพืชคุณภาพสูงแทนไขมันจากสัตว์เพราะร่างกายดูดซึมได้ดีกว่า และรับประทานผักและผลไม้สดอย่างน้อยวันละ 5 ส่วนตามคำแนะนำของสมาคมวิชาชีพ
ซูเปอร์ฟู้ดอย่างโกจิเบอร์รี่และอะเซโรลาสามารถเสริมในอาหารเพื่อป้องกันการขาด Biofactors โดยชีสและถั่วลิสงเป็นแหล่งสังกะสีที่ดี โดยชีสเอมเมนทาล 100 กรัมให้สังกะสี 4.6 กรัม (ปริมาณแนะนำต่อวันคือ 7 กรัมสำหรับผู้หญิง และ 10 กรัมสำหรับผู้ชาย)


เนื้อไก่และผักสลัดลำต้นอุดมด้วยกรดโฟลิก โดยผักสลัดลำต้น 100 กรัมมีกรดโฟลิก 145 ไมโครกรัม แต่ควรรับประทานทันทีเพราะกรดโฟลิกสลายตัวได้ง่ายเมื่อเก็บไว้นานนอกจากนี้ เนื้อไก่ยังมีวิตามินบี 6 และบี 12 ซึ่งส่วนใหญ่พบในอาหารจากสัตว์ สำหรับผู้ทานมังสวิรัติหรือวีแกนสามารถเลือกทานอาหารหมัก เช่น กะหล่ำปลีดองหรือเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีวิตามินเหล่านี้ในปริมาณน้อยๆ


วิตามินบี 1 พบในถั่วและธัญพืชไม่ขัดสี แต่ปริมาณอาจแตกต่างกันตามการเก็บรักษาและวิธีการปรุง ดังนั้นควรรับประทานมูสลีหรือขนมปังโฮลวีตเป็นอาหารเช้าเป็นประจำโดยจะช่วยป้องกันการขาด Biofactor และเสริมแมกนีเซียม โดยในข้าวโอ๊ตมีแมกนีเซียม 134 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนเมล็ดทานตะวันมีสูงถึง 420 มิลลิกรัม (สมาคมโภชนาการเยอรมันแนะนำให้ผู้ใหญ่สุขภาพดีควรได้รับแมกนีเซียม 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน)


ดังนั้น การดำเนินชีวิตโดยมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น หลีกเลี่ยงสารอันตรายอย่างแอลกอฮอล์และนิโคติน พร้อมได้รับ Biofactors ที่จำเป็นผ่านการใช้ชีวิตที่สมดุล จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม ป้องกันโรคร้ายแรง และรักษาสุขภาพที่ดีไว้ได้

สามารถให้ Biofactors ในปริมาณที่มากเกินความต้องการได้หรือไม่

คนสุขภาพดีที่รับประทานอาหารสมดุลจะไม่เกิดภาวะได้รับ Biofactors มากเกินไป โดยทั่วไปวิตามินส่วนใหญ่ที่เกินความต้องการจะถูกขับออกจากร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น การได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียเล็กน้อย ส่วนวิตามินบี 12 และบี 1 ที่เกินความต้องการจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระโดยไม่เป็นอันตราย

อย่างไรก็ตาม ควรระวังการได้รับวิตามินที่ละลายในไขมันมากเกินไป เช่น วิตามินอี ดี เค และเอ โดยเฉพาะวิตามินเอปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ และอาเจียน เนื่องจากจะสะสมในตับ สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการได้รับวิตามินเอเกินวันละ 3 มิลลิกรัมเพื่อป้องกันผลกระทบต่อทารกในครรภ์ การได้รับวิตามินเอมากเกินไปอาจเกิดจากการรับประทานอาหารเสริม รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มเสริมที่มีวิตามิน หรือตับสัตว์  นอกจากนี้ การได้รับธาตุเหล็กหรือแคลเซียมมากเกินไปอาจเป็นอันตรายในระยะยาว จึงควรตรวจสอบการขาดสารอาหารก่อนรับประทานอาหารเสริมสารใดๆให้ร่างกาย

การขาด Biofactors เกิดขึ้นได้อย่างไร

การรับประทานอาหารที่สมดุลและการดูแลสุขภาพที่ดีสามารถช่วยป้องกันการขาดแคลน Biofactors ที่สำคัญได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่าข้อกำหนดในการบริโภควิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นมักอ้างอิงตามความต้องการเฉลี่ยของคนที่มีสุขภาพดี แต่ความต้องการ Biofactors ของแต่ละบุคคลอาจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ปริมาณการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่รวมถึงการใช้ยาบางประเภท


ในบางกรณี ร่างกายอาจต้องการ Biofactors เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง หรือไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการรับประทานอาหารตามปกติอาจไม่เพียงพอ และอาจนำไปสู่การขาดแคลน Biofactors ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา และในหลายกรณีที่พบบ่อย อาจพิจารณาใช้มาตรการป้องกันได้
 

กลุ่มเสี่ยงต่อการขาด Biofactors

ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ร่างกายอาจมีความต้องการ Biofactors บางชนิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และกรดโฟลิก เช่นเดียวกับเด็กในวัยเจริญเติบโตหรือผู้ที่มีความเครียดสูงที่ต้องการ Biofactors บางประเภทในปริมาณที่มากขึ้น 


ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากมักรับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งความสามารถในการดูดซึม Biofactors ก็ลดลงตามอายุและยังมีการใช้ยาบางชนิด ปัญหานี้สามารถพบได้ในผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบถ้วนและผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกน ควรให้ความสำคัญกับการได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอ เนื่องจากวิตามินชนิดนี้พบได้เกือบทั้งหมดในผลิตภัณฑ์จากสัตว์
 

การใช้ยาระยะยาวอาจนำไปสู่การขาดแคลน Biofactors

การใช้ยาบางชนิดในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการดูดซึมหรือเพิ่มการขับออกของ Biofactors จนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารในระยะยาวได้ เนื่องจากยาและ Biofactors ใช้การลำเลียงและการเผาผลาญแบบเดียวกัน ยาที่มีผลกระทบนี้มีหลากหลายชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาเบาหวานบางประเภท และยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งหลายชนิดมีการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี


ยกตัวอย่าง เช่น ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดอาจทำให้ขาดวิตามินบี 12 และบี 1 ในระยะยาว ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกและความเสียหายของเส้นประสาท จนอาจเกิดอาการชา การเป็นอัมพาตของแขนขา หรือแม้แต่ภาวะสมองเสื่อม ส่วนยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนบางชนิดซึ่งอาจทำให้ขาดวิตามินบี 6 กรดโฟลิก และแมกนีเซียม ซึ่งตามรายงานของสมาคมวิชาชีพนรีแพทย์ระบุว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด 


ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำแนะนำให้ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดงดสูบบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้อาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นได้
 

หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการขาดแคลน Biofactors ในร่างกายของคุณ

เมื่อผลตรวจเลือดพบว่าคุณมีภาวะขาด Biofactors อย่างรุนแรง สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดไปภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับ Biofactors ที่จำเป็นเพื่อป้องกันภาวะการขาด Biofactors ตั้งแต่แรก


การได้รับ Biofactors อย่างเหมาะสมจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วขึ้น และป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดจากการขาด Biofactors


สำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาในระยะยาว ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรโดยตรงว่าต้องระมัดระวังเรื่องการได้รับ Biofactors ชนิดใดเป็นพิเศษหรือไม่ แม้ว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับยาที่อาจส่งผลต่อความสมดุลของ Biofactors แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดและยังไม่สามารถทดแทนการปรึกษาแพทย์ได้

การใช้ตัวยาสำคัญต่อไปนี้ในระยะยาวอาจมีผลต่อระดับ Biofactors ในร่างกาย

ยาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มี metformin เป็นตัวยาสำคัญ
ยารักษาโรคเบาหวานที่มี metformin เป็นตัวยาสำคัญ: metformin จะรบกวนการดูดซึมวิตามินบี 12 และกรดโฟลิกที่ลำไส้ ส่งผลให้เกิดภาวะขาดวิตามินได้ นอกจากนี้ยังทำให้ระดับ homocysteine ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของหลอดเลือด การเกิดลิ่มเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด

ยาขับปัสสาวะที่มีสารออกฤทธิ์ thiazides, triamterene หรือ furosemide 

ยาขับปัสสาวะที่มีสารออกฤทธิ์ thiazides, triamterene หรือ furosemide ส่งผลต่อร่างกายในหลายด้าน แม้จะช่วยขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านไต แต่ก็ทำให้สูญเสียสารอาหารสำคัญไปด้วย โดยเฉพาะวิตามินบีรวม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด การขาดแมกนีเซียมส่งผลให้กล้ามเนื้อรวมถึงหัวใจไม่สามารถผ่อนคลายได้ตามปกติและอาจเกิดตะคริว นอกจากนี้ การขาดวิตามินบียังทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายสาร homocysteine ได้เพียงพอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะสาร triamterene ยังขัดขวางการดูดซึมวิตามินบีและกรดโฟลิกที่จำเป็นต่อการย่อยสลาย homocystein อีกด้วย

ยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีสารออกฤทธิ์ ingredients isoniazid, trimethoprim and aminoglycoside 

ยาปฏิชีวนะกลุ่ม animoglycoside อาทิ amikacin, gentamicin และ tobramycin มีผลทำให้ร่างกายขาดแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่กล้ามเนื้อต้องการเพื่อการผ่อนคลาย การขาดแมกนีเซียมจึงก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ตั้งแต่ตะคริวที่น่องในเวลากลางคืน การนอนผิดปกติ ความกระวนกระวาย ไปจนถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้ สารออกฤทธิ์ isoniazid และ trimethoprim ยังส่งผลยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 6 และกรดโฟลิกตามลำดับ ซึ่งทั้งสองชนิดมีความสำคัญในการควบคุมระดับ homocysteine หากระดับ homocystein ในร่างกายสูงเกินไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย

ยาสำหรับลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดที่มีสารสำคัญคือ colestyramine, niacin and fibrates

สารสำคัญแต่ละชนิดส่งผลรบกวนกระบวนการเผาผลาญ homocysteine ในร่างกายที่แตกต่างกันไป โดยมักยับยั้งการทำงานของวิตามินบีชนิดใดชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการย่อยสลาย homocysteine  และส่งผลให้ระดับของสารเมตาบอไลต์ที่เป็นพิษนี้สูงขึ้น โดยอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดและนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ยารักษาโรคทางเดินอาหารที่มีสารสำคัญ คือ omeprazole, cimetidine, ranitidine, sulphasalazine and laxatives 

สารสำคัญในยาหลายชนิดส่งผลกระทบต่อการดูดซึมและการทำงานของสารสำคัญในร่างกาย โดย omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม และยากลุ่ม H2 ต้านฮิสตามีนอย่าง cimetidine and ranitidine แม้จะช่วยลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร แต่ก็ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 จากอาหาร ส่วน sulfasalicin ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบก็มีผลข้างเคียงในการยับยั้งการดูดซึมและการทำงานของกรดโฟลิก เมื่อขาดวิตามินบี 12 และกรดโฟลิกเป็นเวลานาน จะทำให้ระดับ homocysteineในเลือดสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ การใช้ยาระบายเป็นเวลานานยังทำให้ร่างกายสูญเสีย biofactors ที่สำคัญทางอุจจาระ ทั้งวิตามินบี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม

ข้อสงวนสิทธิ์  ข้อมูลด้านสุขภาพที่นำเสนอในเว็บไซต์ www.woerwagpharma.de มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนการพบแพทย์ วินิจฉัยโรคด้วยตนเอง ตัดสินใจใช้ยาด้วยตนเอง ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม 
กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดชอบและลิขสิทธิ์รูปภาพในเว็บไซต์